บทความ โดย จงกลนี อนะมาน.
คนไทยมีความผูกพันกับสายน้ำมาเป็นระยะเวลานานแสนนาน เพราะส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามราบลุ่มน้ำในสังคมเกษตรกรรม อาจกล่าวได้ว่าสายน้ำเปรียบเสมือนสายชีวิต สายโลหิตที่อาศัยดื่มกินและหล่อเลี้ยงพืชพันธุ์ธัญญาหาร
ประเพณีอันสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทยที่เกี่ยวพันกับน้ำ ประเพณีหนึ่งก็คือ ?การแข่งเรือยาว? ซึ่งมีสืบทอดกันมาตั่งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
?หน้าน้ำ? เป็นภาษาพื้นฐานของภาคกลางที่ใช้เรียกระยะเวลาระหว่างเดือนแปดถึงเดือนสิบ สองซึ่งเป็นระยะเวลาที่น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะเอ่อสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ประมาณเดือนแปด และพอถึงเดือนสิบเอ็ดหรือเดือนสิบสองนี้จะเอ่อขึ้นท่วมล้นตลิ่ง จนทุกแห่งเจิ่งนองไปด้วยน้ำ
และ ?หน้าน้ำ? นี่เองเป็นที่มาของการจัดเทศกาลงานประเพณีการแข่งเรือยาว ที่เป็นฤดูกาลที่ชาวบ้านว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา มักจะหางานอดิเรกทำกัน ชาวบ้านจึงได้รวมตัวกันจัดงานประเพณีการแข่งเรือยาวขึ้น เพื่อสร้างความสนุกสนาน
การแข่งเรือเป็นการละเล่นเพื่อให้ความสนุกสนานรื่นเริง เป็นการละเล่นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนบท ประเพณีการแข่งเรือยาวจึงได้รับความนิยมมาช้านานนับศตวรรษ และในปัจจุบันก็ยังคงมีการจัดอยู่ทุกปี ตามวัดในต่างจังหวัด ริมน้ำเจ้าพระยาภาคกลาง เช่น อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี
ประเพณีการแข่งเรือเชื่อว่ามีมาตั้งแต่สุโขทัย เพราะมีการกล่าวถึงไว้ในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ถึงประเพณีการแข่งเรือหลวงที่เรียกว่าอาศยุช ในสมัยอยุธยาเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ กวีแห่งกรุงศรีอยุธยา กล่าวงถึงในกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศกตอนหนึ่งว่า
?เดือนสิบเบ็ดเสร็จสำแดง
เรื่อกิ่งแข่งตามพิธี
พายงามตามชลธี
พี่แลเจ้าเปล่าเป็นดาย?
และ จากคำให้การของชาวกรุงเก่ากล่าวถึงการแข่งเรือในสมัยกรุงศรีอยุธยาว่าเป็น พระราชพิธีเดือนสิบเอ็ด เดือนสิบสอง หรือพระราชพิธีอาศยุชคือการแข่งเรือของพระเจ้าแผ่นดินว่า
?พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาทรงเรือพระที่นั่งกิ่งลำหนึ่ง พระอัครมเหสีทรงลำหนึ่ง แข่งเรือกันแล้วโปรดให้เสนาอำมาตย์ทั้งหลายแข่งเรือกันโดยลำดับ พระราชพิธีนี้ทำกันเมื่อขึ้น 14 ค่ำ จนแรม 3 ค่ำ รวม 3 วัน พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาจะทรงเครื่องขาวพระมหามงกุฎทำด้วยเงินเวลากลางคืนพระ เจ้ากรุงศรีอยุธยาจะเสด็จลงลอยพระประทีปอุทิศถวายพระพุทธเจ้า แล้วเสด็จลงเรือพระที่นั่งประทับยืนไปพร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ อันประดับด้วยประทีปเสด็จรอบพระนคร มีการเลี้ยงลูกขุนและข้าราการทั้งปวง เสด็จไปพระราชทาน พระกฐินตามพระอารามในกรุง?
การพระราชพิธีอาศ-ยุชนั้นเป็นการเสี่ยงทายสำหรับพระมหานครโดยปรากฏในกฎ มณเฑียรบาลว่าเรือที่พระมหากษัตริย์จะลงคือเรือสมรรถชัยและเรือมเหสีคือเรือ ไกรสรมุข และมีคำเสี่ยงทายว่า ถ้าเรือสมรรถชัยแพ้ ?ข้าวเหลือกินอิ่ม สุขเกษมเปรมประชา? ถ้าเรือสมรรถชัยชนะจะมียุคเข็ญ
การแข่งเรือเป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเมื่อล่วงมาจนถึงสมัยกรุง-รัตนโกสินทร์ ปัจจุบันการแข่งเรือ การเล่นเรือเพลงของชาวบ้านก็ยังคงมีเล่นกันอยู่ในเทศกาล-ไหว้พระ หรืองานปิดทองพระของวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ
ประเพณีการแข่งเรือเป็นการละเล่นในฤดูน้ำหลากที่ชาวบ้านว่างเว้นจากงานประจำ พอใกล้เดือน 11 ชายหนุ่มในละแวกบ้านที่วัดประจำหมู่บ้านของตนมีเรือแข่งก็จะดูคึกคักเป็นพิเศษ ใน ตอนบ่ายจะได้ยินเสียงกลองรัวดังก้องไปตามคุ้งน้ำเพื่อเป็นสัญญาณบอกให้รู้ ว่าถึงเวลาฝีพายประจำเรือของวัดประจำหมู่บ้านจะต้องร่วมชุมนุมกันเพื่อซ้อม พายไว้แข่งกับเรือของวัดในหมู่บ้านอื่นในเทศกาลที่กำลังจะมาถึง เรือแข่งของวัดแต่ละหมู่บ้านถือเป็นศักดิ์ศรีของวัดของหมู่บ้าน ฉะนั้น ?เรือแข่ง? หรือที่เรียกกันว่า ?เรือยาว? ของแต่ละวัดจะได้รัยการบำรุงรักษาตกแต่งให้งดงามและอยู่ในสภาพที่พร้อมจะแข่งขันได้เสมอ
เมื่อวันแข่งเรือมาถึง ส่วนหัวเรือและทายเรือจะประดับประดาด้วยผ้าแพร ผ้าสี ช่อดอกไม้ พวงมาลัย ซึ่งจะมีทั้งดอกไม่สดและดอกไม่เทียม ตลอดจนธูป เครื่องเซ่นบูชาแม่ยานางประจำเรือ ก่อนที่จะเอาเรือลงจากคานเรือบนวัดลงสู่แม่น้ำ จะต้องมีการบอกกล่าวเซ่นไหว้กันตามความเชื่อทางไสยศาสตร์ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยขาดหายไปจากคนไทย ผู้กระทำพิธีต่าง ๆ ของเรือยาวแต่ละวัด ส่วนมากเป็นหัวหน้าผู้ควยคุมเรือซึ่งถือว่าเป็นคนสำคัญของเรือคือเป็นผู้บอกจังหวะการพายการจ้ำของฝีพายทั้งในเวลาซ้อมและเวลาแข่งขัน ที่ให้จังหวะหรือที่เรียกกันว่า ?คนบอกยาว? จะเป็นผู้นั่ง ๆ ยืน ๆ อยู่ที่หัวสุดขอบเรือหันหน้าหาฝีพาย คือหันหน้าไปทางเรืออาจจะถือพาย หรือเป่านกหวีดคอยให้ฝีพายรู้ว่าเวลาใดควรจะเร่งฝีพายหรือพายช้าหรือเร็ว เพียงใด เพื่อให้เกิดความพร้อมเพียง
ก่อนที่จะถึงเวลาแข่งขัน หน้าวัดจะแออัดไปด้วยเรือแพและผู้คน เรือยาวจากถิ่นต่าง ๆ จะพายขึ้นล่องพร้อมกันกับร้องเพลงเห่กันไปมา เพื่อเป็นการแสดงตัวหรือโชว์ตัวของเรือยาว การพายโชว์ฝีพายจะได้รับการฝึกสอนและซ้อมการพายให้งดงามด้วยการพายในลักษณะต่าง ๆ กัน
การจับ คู่เรือแข่งหรือเรือยาวจะใช้การเปรียบเทียบ โดยใช้ขนาดของเรือและจำนวนของฝีพายเป็นเกณฑ์ อย่างไรก็ตามการแข่งเรือนี้นอกจะมีการแข่งเรือยาวซึ่งถือว่าเป็นเรือแข่ง หลักของงานแล้ว ในบางแห่งจะมีการแข่งเรือพายประเภทต่าง ๆ และประกวดการตกแต่งเรือ ทั้งสวยงามและประเภทตลกขบขัน เพื่อเป็นเรือประกอบช่วยให้เกิดความสนุกสนานรื่นเริงพร้อมเพียงกันไปด้วย
จะเห็นได้ว่าการแข่งเรือเป็นการละเล่นของชาวบ้าน ที่ต้องอาศัยทั้งความสามัคคีและความร่วมแรงร่วมใจ ตลอดจนถึงความชำนาญ ไหวพริบประกอบกันไป แต่ การแข่งเรือยาวของชาวบ้านทั่วไปแม้จะถือว่าเป็นเรื่องที่ทำกันอย่างจริงจัง ก็ตามแต่เมือมีฝ่ายแพ้และฝ่ายชนะต่างก็ยอมรับสภาพของตนเองอย่างนักกีฬาเพราะ รู้ดีว่าเป็นการแข่งขันเพื่อความสนุกสนานและความสามัคคีมากกว่าสิ่งอื่นใด
เมื่อการแข่งเรือสิ้นสุดลงชาวบ้านที่มาเที่ยวดูเรือแข่ง โดยการพายเรือของตนเองมากันเป็นหมู่คณะ ทั้งหนุ่มสาวคนแก่แม่ม่ายก็จะนำเรือมาเกาะกันเป็นหมู่ ปล่อยเรือลอยไปตามกระแสน้ำเพื่อกลับบ้าน พวกหนุ่มสาวจะถือโอกาสเกี้ยวพาราสีกัน โดยการร้องเล่นเพลงเรือ บางลำก็จะมีพ่อเพลงแม่เพลง เป็นผู้ร้องนำในทำนองพ่อสื่อ แม่สื่อให้กับหนุ่มสาวของตน ดั้งที่สุนทรภู่เขียนไว้ในนิราศภูเขาทองว่า
ภายในกำแพงที่สูงตระหง่านเก่าคร่ำ
?มาจอดท่าหน้าวัดพระเมรุข้าม ริมอารามเรือเรียงเคียงขนาน
บ้างขึ้นล่องร้องเล่นสำราญ ทั้งเพลงการเกี้ยวกันแซ่เซ้ง
บ้างฉลองผ้าป่าเสภาขับ ระนาดรับรัวคล้ายกับนายเส็ง
มีโคมรายแลอร่ามเหมือนสามเพ็ง เมื่อคราวเคร่งก็มิใคร่จะได้ดู
ไอ้ลำหนึ่งครึ่งท่อนกลอนมักมาก ชั่งยาวลากเลื่อยเจื้อยจนเหนื่อยหู
ไม่จบบทลดเลี้ยวเหมือนเงี้ยวงู จนลูกคู่ขอทุเลาว่าหาวนอน?
ในปัจจุบันภาวะทางสังคมและอิทธิพลทางวัฒนธรรมอื่น ๆ เข้ามามีสวนผลักดันให้วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไป การแข่งเรือในงานประเพณีเดือนสิบเอ็ด เดือนสิบสองซึ่งเป็นการละเล่นของไทยที่มีมาแต่โบราณและมีความประสานสัมพันธ์สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทยในอดีต เป็นประเพณีเป็นการแสดงออกถึงความสามารถทางศิลปวัฒนธรรมระดับชาวบ้านซึงนับวันจะสูญหายไปตามการเวลา
การแข่งเรือในสมัยก่อน แข่ง เพื่อความสนุกจริง ๆ ไม่มีการพนันเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยวัดใดเป็นเจ้าภาพก็จะแบ่งหมู่บ้านของตนรับ ผิดชอบลูกเรือหมู่บ้านละ 1 ลำบ้าง 2 หมู่บ้านต่อเรือ 1 ลำบ้าง โดยทำข้าวห่อแจกกันไป เรือที่ชนะในการแข่งขันก็จะได้รับรางวัลเพียงพาสีต่าง ๆ มาผูกที่หัวเรือของตนเท่านั้น บางที่ก็จะได้ชะลอมจากวัดที่เป็นเจ้าภาพแจกให้ ในชะลอมนั้นก็จะมีผลไม้มาแบ่งกันกินเท่านั้นเอง
แต่การแข่งเรือในปัจจุบันมีการพนันขันต่อเป็นเงินทองมาเป็นปัจจัยสำคัญ การแข่งเรือในแต่ละปี หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ามีเดิมพันเป็นล้านบาทก็มี เรือของวัดใดชนะการแข่งขันบ่อย ๆ ก็จะมีค่าตัวเพิ่มขึ้นและได้ไปแข่งต่างจังหวัดบ่อย ๆ
การแข่งเรือเพื่อความสนุกสนานเพื่อความสามัคคีที่มีอยู่ในอดีตจึงเริ่มเปลี่ยนแปลง เพราะค่านิยมที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาและยุคสมัย และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไป เพราะค่านิยมที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลายุคสมัย และเมื่อการเปลี่ยนแปลงในวันข้างหน้านั้นมาถึง ประเพณีการแข่งเรือก็คงเป็นเพียงเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาเท่านั้น เพราะประเพณีนี้ขาดผู้รู้คุณค่าและไม่สนใจที่จะบำรุงรักษาไว้ และในที่สุดก็คงจะสูญหายไปอย่างน่าเสียดาย
ที่มา : จงกลนี อนะมาน. (2536, พฤศจิกายน). "แข่งเรือ สีสัน และ ลีลา แห่งชีวิตบนผืนน้ำ," ตรีมุข. 3(4) : 40-44.